เมื่อไม่กี่วันก่อนป้าของผมซึ่งรับราชการอยู่กำลังจะเกษียณอายุราชการ ป้าจึงบอกให้ผมลองคำนวณเงินบำเหน็จบำนาญที่จะได้ให้หน่อย เพราะแกไม่อยากไปติดต่อที่กรมบัญชีกลางเอง
ผมจึงลองเข้าเว็บของกรมบัญชีกลางเพื่อลองหาวิธีดูก็พบกับเว็บ กรมบัญชีกลาง ซึ่งเป็นเว็บที่จะช่วยในการคำนวณบำเหน็จบำนาญให้เราแบบคร่าวๆ เพื่อให้คนทั่วไปสามารถนำไปทดลองคำนวณค่าโดยประมาณได้ หรือสามารถเข้าไปโหลดแอพได้ที่ Google Play
วิธีการคำนวณบำเหน็จ
สำหรับการคำนวณบำเหน็จนั้นจะเหมือนกัน ไม่ว่าคุณจะเป็น สมาชิก กบข. หรือไม่ก็ใช้วิธีเดียวกัน วิธีการคำนวณคือ
บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย X จำนวนปีที่รับราชการ
*** ถ้าจำนวนมีเศษ ถ้าเกิน 6 เดือนให้ปัดเป็น 1 ปี
ตัวอย่างถ้าเงินเดือนเดือนสุดท้ายเป็น 40,000 บาท และท่านมีอายุราชการ 34 ปี 6 เดือน 1 วัน จะได้บำเหน็จเท่ากับ 40000 X 35 (ปัดปีขึ้นเพราะเกิน 6 เดือน) = 1,400,000 บาท
วิธีการคำนวณบำนาญ สำหรับท่านที่ไม่ได้เป็นสมาชิก กบข.
บำนาญ = (เงินเดือนเดือนสุดท้าย X จำนวนปีที่รับราชการ) / 50
*** ถ้าจำนวนมีเศษ ถ้าเกิน 6 เดือนให้ปัดเป็น 1 ปี
ตัวอย่างถ้าเงินเดือนเดือนสุดท้ายเป็น 40,000 บาท และท่านมีอายุราชการ 34 ปี 6 เดือน 1 วัน จะได้บำเหน็จเท่ากับ 40000 X 35 (ปัดปีขึ้นเพราะเกิน 6 เดือน) / 50 = 28,000 บาท
วิธีการคำนวณบำนาญ สำหรับท่านที่เป็นสมาชิก กบข.
ท่านที่เป็นสมาชิก กบข. จะมีวิธีคำนวณที่เพิ่มเติมขึ้นมาคือ ใช้เงินเดือน เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายแทน วิธีการคำนวณคือ
บำนาญ = (เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย X จำนวนปีที่รับราชการ) / 50
*** ถ้าจำนวนมีเศษ ถ้าเกิน 6 เดือนให้ปัดเป็น 1 ปี
*** บำนาญที่ได้จะต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
ตัวอย่างถ้าเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายเป็น 40,000 บาท และท่านมีอายุราชการ 34 ปี 6 เดือน 1 วัน จะได้บำเหน็จเท่ากับ 40000 X 35 (ปัดปีขึ้นเพราะเกิน 6 เดือน) / 50 = 28,000 บาท (70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายพอดีจึงไม่มีการลด)
วิธีการคำนวณบำเหน็จบำนาญนั้นง่ายๆ ไม่ได้ยากอย่างที่หลายๆคนคิดกัน หากใครไม่สะดวกเข้าไปที่เว็บของกรมบัญชีการโดยตรงสามารถดาวน์โหลด แอพ คำนวณบำเหน็จบำนาญ ได้ที่ Google Play เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
วิธีการคำนวณจาก กรมบัญชีกลาง