เมื่อไม่กี่วันก่อน Index ลดมาประมาณ 60 จุด ก็สั่นสะท้านใจหลายๆคน รีบขายหุ้นหนีลงจากดอยกันมากมาย แต่พอผ่านไปไม่กี่วันเท่านั้น ทุกอย่างก็กลับมาดูดี จนคนที่ขายๆไปบ่นเสียดายกันเป็นแถว
แต่ถ้าเราไม่อยากตื่นตระหนกเวลาหุ้นลง ก็ควรจะดูพื้นฐานกำกับด้วยว่าหุ้นตัวนี้ บริษัทดีหรือไม่ งบดีหรือเปล่า หรือว่าโตดีแค่ไหน ผมเคยเดินเข้าร้านหนังสือไปเจอหนังสือเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า “CANSLIM คัดหุ้นชั้นยอด ด้วยระบบชั้นเยี่ยม” แต่พอเปิดหนังสือเท่านั้นแหละ งงเลย มีแต่กราฟเต็มไปหมดพลิกไปไม่กี่หน้าผมก็วางเพราะดูกราฟไม่เป็น แต่มีพี่มาบอกผมที่หลังว่าหนังสือเล่มนี้อ่ะ Fundamental เต็มๆเลย ซึ่งก็จริงพอไปอ่านดูก็รู้สึกว่ามันคือ Fundamental นี่หว่า แต่แค่ทำให้เป็นระบบระเบียบมากขึ้น ซึ่ง CANSLIM มาจากการย่อคำ ซึ่งแต่ละตัวอักษรจะมีความหมายในตัวเอง การนำหลักการนี้ไปใช้จะช่วยให้เรากรองหุ้นที่ดีได้ในระดับหนึ่ง
และที่สำคัญตอนนี้แอพ StockRadars มีการแจก Radar ฟรีอยู่นั่นคือ Selected Fundamental ซึ่งเป็นเรด้า ที่ดัดแปรงมาจากหลักการคัดเลือกหุ้นของหนังสือ CANSLIM ในเพจเขาบอกว่าจะแจกฟรีจนถึงวันที่ 8 กันยายนนี้เท่านั้น เรามาดูกันดีกว่าใน Selected Fundamental มีอะไรให้เราเล่นกันบ้าง ขอไล่ตามตัวอักษรเลยแล้วกันนะครับ
C – Current earning
สำหรับตัวอักษรแรกจะดู EPS(กำไรต่อหุ้น) ของบริษัทว่ามีการเจริญเติบโตมากแค่ไหน ผู้เขียนบอกว่าหุ้นดีกำไรต้องโตแบบก้าวกระโดด อย่างน้อย 25% ขึ้นไป ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่า EPS ยิ่งโตมากยิ่งดี
EPS Growth
คำอธิบายในแอพ : กำไรต่อหุ้น (Earning Per Share – EPS) ไตรมาสปัจจุบัน มากกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 40% ขึ้นไป (ความคิดเห็นส่วนตัว : อาจมีการโตหลอกได้ต้องดูงบการเงินและส่วนประกอบอื่นๆด้วย)
หุ้นที่ติดในเรด้าตอนนี้ (31/8/2558) : 77 ตัว
EPS Regression
คำอธิบายในแอพ : กำไรต่อหุ้น (Earning Per Share – EPS) ไตรมาสปัจจุบันน้อยกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 40% ขึ้นไป (ความคิดเห็นส่วนตัว : ใครมีหุ้นที่ติดในเรด้านี้ก็ต้องดูว่าบริษัทของเราทำไม EPS ลดลงมา)
หุ้นที่ติดในเรด้าตอนนี้ (31/8/2558) : 192 ตัว
A – Annual earing
นอกจากการดู EPS รายไตรมาสแล้วก็ควรดูการเติบโตระหว่างปีด้วย เพราะกำไรอาจจะพุ่งช่วงสั้นๆเพื่อหลอกเราได้ ซึ่งเราก็ต้องดูผลประกอบการหลายๆปีก่อนหน้าสัก 3 ปีเพื่อดูแนวโน้มการเติบโตของบริษัท
Selected Net Profit Growth
คำอธิบายในแอพ :กำไรประจำปีเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างน้อยปีละ 25% ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 ปี
หุ้นที่ติดในเรด้าตอนนี้ (31/8/2558) : 7 ตัว
Selected ROE
คำอธิบายในแอพ : Return on Equity (ROE) ปัจจุบันมีค่ามากกว่า 17%
หุ้นที่ติดในเรด้าตอนนี้ (31/8/2558) : 76 ตัว
N – New product or service
ตรงส่วนนี้จะดูว่าบริษัทมีสินค้าใหม่ หรือเพิ่งเปลี่ยนทีมผู้บริหารใหม่ หรือทำ New high ซึ่งแสดงถึงเรื่องราวที่น่าสนใจทำให้คนมามุงดูหุ้นตัวนี้มากยิ่งขึ้น การหาว่าบริษัทมีสินค้าใหม่หรือเปลี่ยนทีมผู้บริหารใหม่จะต้องติดตามข่าวบ่อยๆ แถมเดี๋ยวนี้มีเพจต่างๆที่นำเสมอข่าวมากมายน่าจะสะดวกขึ้นในส่วนนี้
All time high
คำอธิบายในแอพ : ราคาทำจุดสูงสุด เทียบกับราคาในประวัติทั้งหมดหรือตั้งแต่วันแรกที่เปิดซื้อขายให้กับประชาชนทั่วไป (IPO)
หุ้นที่ติดในเรด้าตอนนี้ (31/8/2558) : 5 ตัว
S – Supply and demand
การดู Supply demand ก็ดูได้จาก Volume ว่ามีการซื้อขายมากขนาดไหนซึ่งในส่วนนี้ต้องดูในกราฟ แต่ยังมีวิธีอื่นๆอีกคือ การที่บริษัทซื้อหุ้นคืนและบริษัทมีหนี้สินลดลง
Company Buyback
คำอธิบายในแอพ : บริษัทซื้อหุ้นคืนภายในระยะเวลา 3 ปี
หุ้นที่ติดในเรด้าตอนนี้ (31/8/2558) : 13 ตัว
Debt Decrease
คำอธิบายในแอพ : บริษัทลดหนี้ลงได้ในช่วง 3 ปีล่าสุด และกำไรไม่ลดลง
หุ้นที่ติดในเรด้าตอนนี้ (31/8/2558) : 7 ตัว
L – Leader or laggard
หุ้นดีต้องอย่ในอุตสาหกรรมที่โดดเด่นและต้องเป็นหุ้นที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนั้นๆ ซึ่งเราควรคัดอันดับต้นของ Sector มาเลือกดู โดยดูจากค่า Ratio ต่างๆ เปรียบเทียบกัน
Top 3 ROE of sector
คำอธิบายในแอพ : RoE สูงที่สุด 3 อันดับแรกในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน
หุ้นที่ติดในเรด้าตอนนี้ (31/8/2558) : 95 ตัว
Top 3 Profit Margin of sector
คำอธิบายในแอพ : Profit Margin สูงที่สุด 3 อันดับแรกในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน
หุ้นที่ติดในเรด้าตอนนี้ (31/8/2558) : 95 ตัว
Top 3 Revenue Growth of sector
คำอธิบายในแอพ : % Growth ของยอดขายดีที่สุด 3 อันดับแรกในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน
หุ้นที่ติดในเรด้าตอนนี้ (31/8/2558) : 99 ตัว
I – Institutional sponsorship
หุ้นดีนอกจากนักลงทุนอยากซื้อแล้วจะต้องเป็นหุ้นที่นักลงทุนสถาบันกำลังสนใจอยู่ด้วย โดยดูจากว่าหุ้นตัวใดสถาบันนิยมซื้อ
Selected by Institutional
คำอธิบายในแอพ : หุ้น 24 ตัวแรกที่กองทุนเลือกลงทุนมากที่สุด
หุ้นที่ติดในเรด้าตอนนี้ (31/8/2558) : 24 ตัว (เขาก็บอกไว้ว่า top24)
M – Market Direction
สุดท้ายเราก็ไม่ควรดูแค่หุ้นต้องดูทิศทางตลาดด้วยว่ากำลังไปทางไหน เพราะ CANSLIM ต้องใช้ตอนทิศทางตลาดขาขึ้นเท่านั้น เพราะ CANSLIM ไม่ใช่ซื้อถูกแต่คือการเลือกหุ้นดีเพื่อขายให้ได้ราคาสูงกว่า
สุดท้ายสิ่งที่สำคัญมากว่าคำว่า CANSLIM คือ “Cut Loss ให้เป็น” เพราะเราซื้อแพง จะไปขายแพงกว่า ดังนั้นถ้าราคามันไม่ขึ้น แล้วลดลงมาต่ำกว่า 5 – 8 % ก็ตัดกรรม(Cut Loss)ได้เลยอย่าได้ลังเล โดยรวมแล้วหลักการ CANSLIM ช่วยให้เราคัดกรองหุ้นคุณภาพดีได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ควรดูเรื่องอื่นๆประกอบด้วย เพราะทุกอย่างไม่ได้เป็นไปตามหลักการเป๊ะๆ เนื่องจากหลักการในหนังสือผู้เขียน William J.O นำประสบการณ์ในตลาดอเมริกามาเรียบเรียง ซึ่งต้องมาปรับปรุงให้เข้ากับตลาดบ้านเรากันอีกที
การลงทุนมีความเสี่ยง เราควรศึกษาหาข้อมูลอย่างดี ไม่ควรเชื่อทุกสิ่งที่ใครบอก เพราะ ขาดทุนก็เงินเรา กำไรก็เงินเรา ไม่มีใครมารับผิดชอบหากซื้อตามที่มีคนบอกมาแล้วเราขาดทุน
Credit
CANSLIM ต้องมีสักครั้งที่คุณจะรวยจากหุ้นด้วยวิธีการคัดหุ้นแบบนี้
“มาแล้ว!!” ..แก่นของ CAN SLIM ซื้อแพง ขายแพงสุดๆ ..โดย นักแกะรอยหยัก